วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 19:34:38 น. |
"5-10-15" สูตรคืนคลื่น "กสทช." กรณี 1 ปณ.ภาพสะท้อนภารกิจหิน
|
ด้านเครือข่ายแรงงานไทยได้มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อแรงงาน โดยเป็นตัวกลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยการขอระดมรับบริจาค สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ตามศูนย์แรงงานกลุ่มย่านสหพันธ์แรงงานและสมาพันธ์แรงงาน จำนวน 10 ศูนย์ หรีอบริจาคช่วยเหลือได้ทางบัญชีชื่อ มูลนิธิพิพิธพัณฑ์แรงงานไทย บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญ่สีลม โดยสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดจะนำไปมอบให้ผู้ใช้แรงงาน ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 19:34:38 น. |
"5-10-15" สูตรคืนคลื่น "กสทช." กรณี 1 ปณ.ภาพสะท้อนภารกิจหิน
|
หลายพื้นที่ใน กทม.น้ำเริ่มลดระดับ แต่บางจุดน้ำยังท่วมสูง ขณะที่ในการประชุมสภาฯนัดพิเศษวันนี้ เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ''ประชา'' ผอ.ศปภ. กล่าวหารู้เห็นถุงยังชีพช่วยน้ำท่วมไม่โปร่งใส...
00.15 น. ผู้ว่าฯ กทม.นำคณะลงพื้นที่ตรวจ ม.เกษตรฯ เสริมเครื่องสูบน้ำเพิ่มอีก 5 เครื่องช่วยมหาวิทยาลัยสูบน้ำออก คาดว่าถนนภายในมหาวิทยาลัยจะแห้งภายในวันพรุ่งนี้ สั่งเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์แค่ 1 เมตร ไม่ใช่ 1.50 เมตร ตามคำสั่ง ศปภ. หวั่นกระทบเขตสายไหม
04.30 น. ชาวบ้านนครปฐมใน อ.บางเลน อ.นครชัยศรี อ.สามพราน และ อ.พุทธมณฑล เริ่มยิ้มได้หลังระดับน้ำในภาพรวมเริ่มลดลงเกือบ 30 ซม.จากเดิม 1 เมตร ส่วนถนนเพชรเกษมสาย 4-7 คาดรถเล็กจะสัญจรได้ใน 2 วัน ขณะที่วัดโรงเรียนและตลาดดอนหวาย ยังต้องเผชิญกับน้ำท่วมขังกว่า 70 ซม.เจ้าอาวาสร่วมกับชาวบ้านเตรียมกู้สถานการณ์ พร้อมเปิดตลาดเร็วๆนี้
05.15 น. เมืองคอนฝนตกหนัก ปภ.ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติใน อ.พระพรหม อ.นบพิตำ และ อ.ชะอวด และเตรียมประกาศเพิ่มใน อ.พิปูน หลังฝนตกหนักน้ำเอ่อไหลท่วมบ้านราษฎร 4 ตำบล สั่งเร่งอพยพด่วน
06.00 น. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกฝนคะนองกระจาย โดยเฉพาะพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร ขณะที่ภาคอื่นๆทั้ง 4 ภาค อากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง จากความกดอากาศสูงจากจีน บนยอดดอยภาคเหนือ มีน้ำค้างแข็งในระยะ 1-2 วันนี้
07.10 น. 27 พ.ย. กรมอุทกศาสตร์ ทร. คาดน้ำขึ้นเต็มที่เวลา 10.00 น. ระดับ 2.20 ม.รทก. และเวลา 18.03น. ระดับ 1.96 ม.รทก.
07.23 น. @armypr_news : ๒๗ พ.ย. ชุดแพทย์ ทบ.ออกให้บริการที่ ม.เก้ารัตนา บางใหญ่ /ม.ร่มเย็น สรงประภา/ม.เมืองเอก/ชุมชนเพชรเกษม๕๖/ม.เคซี คลองสามวา/วัดม่วง บางแค
09.02 น. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ ประกาศให้ นราธิวาส เป็นพื้นที่ภัยพิบัติทั้งจังหวัด รวม 13 อำเภอ มีผู้ประสบภัยเฉียด 5 หมื่นคน พบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย
09.21 น. @armypr_news : ขอเชิญร่วมบริจาคเงินและวัตถุดิบเพื่อใช้ใน"ครัว ทบ.ตามแนวทางพระราชทาน" ได้ที่ บก.ทบ.หรือโทร 0-2356-0123/0-2280-2528/0-2280-2517 ทุกวันตั้งแต่ 08.00-20.00น.
09.47 น. @armypr_news : ทบ.เตรียมส่งทหารช่างเข้าช่วยขุดลอกคลองสามเสนที่ตื้นเขิน ระยะทาง 3.5 กม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ หลังหารือร่วม กทม.
10.14 น. เปิดสภาฯอภิปรายไม่ไว้วางใจ ''ประชา'' ปชป.กล่าวหารู้เห็นถุงยังชีพช่วยน้ำท่วมไม่โปร่งใส
10.26 น. ตร.แจ้งเปิดการจราจรถ สุขาภิบาล5 และ ถ.วัชรพล ตลอดเส้นทาง พบบางจุดยังมีน้ำท่วมขัง แต่รถเล็กผ่านได้
10.34 น. ตร.แจ้งปิด ถ.พหลโยธิน ตั้งแต่วงเวียนบางเขนถึงอนุสรณ์สถาน/ถ.วิภาวดีฯขาออก ตั้งแต่แยกหลักสี่ถึงอนุสรณ์สถาน
10.49 น. ยังเก็บไม่หมดขยะหลังน้ำท่วมย่าน ถ.สิรินธร โดยเฉพาะขยะที่เป็นเครื่องใช้ในบ้าน -เฟอร์นิเจอร์
11.05 น. ถ.บรมราชชนนี เปิดการจราจรปกติถึงจุดกลับรถคลองควาย/ถ.บางบอน 1 ขาเข้า–ขาออก เปิดการจราจรตลอดสาย แต่บางจุดยังมีน้ำสูง 15-20 ซม.
11.20 น. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ ประกาศให้ 5 อำเภอของยะลา เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย พบผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ขณะที่สถานการณ์ทั่วไปเริ่มดีขึ้น หลังฝนหยุดตก
11.30 น. ถ.กาญจนาภิเษก ช่วงบางใหญ่ จ.นนทบุรี แห้งสนิท หลังก่อนหน้านี้ไม่กี่วันถูกน้ำท่วมสูง
11.51 น. "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี มั่นใจ รมว.ยุติธรรม ในฐานะ ผอ.ศปภ. ตอบคำถามฝ่ายค้านได้ พร้อมแจงหากถูกพาดพิงถึง ปัดตอบคุยพรรคร่วมฯ โหวตสนับสนุนรัฐมนตรี
11.54 น. น้ำท่วมนิคมฯโรจนะ จ.อยุธยา เริ่มแห้ง โดยเฉพาะในโรงงานฮอนด้า ทำให้มองเห็นรถยนต์รอส่งมอบจอดเสียหายเพียบ
13.04 น. วัดพระศรีมหาธาตุ ชวนประชาชนทำบุญใหญ่ ขนทรายทิ้งแล้วเข้าวัด หลังน้ำลด เพื่อนำทรายไปใช้ประโยชน์ในการปฏิสังขรณ์ บูรณะวัดท่ีได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
13.06 น. น้ำท่วมหลายจุดใน กทม.แห้งแล้ว แต่หน้าสำนักเขตดอนเมืองยังถูกน้ำท่วมขัง
13.20 น. @ThaiKhuFah : ผอ.ศปภ.ยืนยันไม่มีการเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พร้อมจะลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อแก้ไขสถานการณ์
13.27 น. ม.เกษตรฯบางเขน น้ำเริ่มแห้งเกือบทุกพื้นที่ หลังท่วมมานานเกือบเดือน แต่ยังพบน้ำท่วมขังผิวจราจรบางจุด พร้อมจัดบิ๊กคลีนนิ่ง 30 พ.ย.นี้
13.38 น. การทางพิเศษฯยังยกเว้นค่าผ่านทางด่วนด่านเชียงรากและบางปะอิน ช่วยน้ำท่วม
13.48 น. รมช.พาณิชย์เผยเตรียมจัดงานใหญ่ 1-2 ธ.ค.นี้ ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย พร้อมช่วยผ่อนผันการจดทะเบียน ยื่นงบการเงิน และแจ้งเอกสารทางบัญชีให้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
13.49 น. กรมควบคุมมลพิษลุยตรวจน้ำท่วมย่านนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยาหลายจุด ยังไม่พบสารพิษ-สารเคมีอันตรายเจือปน
13.55 น. บางบัวทองน้ำลดลงต่อเนื่อง แต่หลายพื้นที่น้ำยังท่วมขังสูงถึงเอว
14.00 น. ปภ.สรุป ยังมี 6 จว.ใต้ คือ พัทลุง ตรัง สุราษฎร์ฯ นครศรีฯ นราธิวาสและสงขลา ถูกน้ำท่วม พร้อมประกาศภัยฉุกเฉิน แม้เริ่มดีขึ้นหลังฝนซา
14.00 น. ''ขวัญชัย'' นำมวลชนคนเสื้อแดงจากอุดรฯ 6 คันรถ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ปักหลักชุมนุมหน้าสภาฯ อ้างเพื่อให้กำลังใจ ''ประชา'' ระหว่างถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ลั่นจะอยู่ด้วยความสงบจนอภิปรายเสร็จ จึงจะกลับ
14.09 น. น้ำยังท่วมสูง ถ.เพชรเกษม ช่วงหน้าเดอะมอลล์บางแค โดยระดับน้ำยังสูง 30-50 ซม. รถเล็กยังไม่ควรผ่าน
14.13 น. ปชช.รับแจกน้ำ EM บำบัดน้ำเสียได้ที่กรมทรัพยากรน้ำ ถ.พระราม 6 ซ.34 ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ โทร 0-2271-6000
14.59 น. บริเวณเคหะทุ่งสองห้องยังอ่วม น้ำคงท่วมขังระดับเข่า การเข้า-ออกยังต้องอาศัยรถใหญ่กับเรือ
15.03 น. สนามบินดอนเมืองเริ่มดีขึ้น โดยตามอาคารน้ำเหลือสูงเฉลี่ย 20-40 ซม. แต่เริ่มมองเห็นรันเวย์
15.15 น. กระทรวงสาธารณสุขกำชับโรงพยาบาลทุกแห่งดูแลและรักษาผู้ป่วยจากน้ำท่วม ทั้งด้านสุขภาพกายและใจคู่กัน
15.35 น. ลุยบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ย่านถ.พระราม 5 หลังน้ำแห้ง พบขยะ และกระสอบทรายอื้อ เร่งเก็บและคัดแยกไปใช้ประโยชน์
15.50 น. ผู้ว่าฯ นนทบุรีมั่นใจไม่เกิน 1 ธ.ค.นี้ น้ำท่วมในพื้นที่ลดลง จนสามารถใช้รถบนเส้นทางหลักได้
16.15 น. ยังคงเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์บริเวณปากซอยสายไหม 86 ที่ระดับ 1.05 ม. ขณะที่ถนนสายไหมซอย 1-86 มีน้ำท่วมขังเพียงบางจุด พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ว
16.30 น. กทม.สรุปสถานการณ์น้ำวันที่ 27 พ.ย. ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำลดลง 3 ซม. คลองเปรมฯ ลดลง 2-7 ซม. คลองบางเขนลดลง 4-7 ซม. คลองลาดพร้าว ลดลง 4-7 ซม. คลองแสนแสบลดลง 1-4 ซม.
17.00 น. กระทรวงวัฒนธรรมย้ำมีโบราณสถานได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 313 แห่ง คาดใช้งบบูรณะซ่อมแซมประมาณ 1,400 ล้านบาท
17.20 น. ทีโอทีแจ้งขยายเวลาชำระค่าบริการ รวมทั้งยกเว้นค่าบริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
17.40 น. ปภ.สรุปยังมีน้ำท่วม 16 จว.รวม กทม. แต่ไม่รวมพื้นที่ภาคใต้ มีผู้เดือดร้อนกว่า 5 ล้านคน เสียชีวิตรวม 161 ศพ หาย 3 ราย
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
27 พฤศจิกายน 2554, 18:00 น.
เป็นที่น่าเสียดายที่ไทยต้องสูญเสียคนมีความรู้ความสามารถในวงการศาลสถิตย์ยุติธรรม"มนตรี ยอดปัญญา" ประธานศาลฎีกา ได้ถึงอนิจกรรม สิริอายุ 63 ปี ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและติดเชื้อในกระแสโลหิตเมื่อคืนวันที่ 26 พ.ย.2554 ที่ผ่านมา หลังเข้ารับการผ่าตัดโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลศิริราช ญาติเตรียมตั้งบำเพ็ญกุศลศพ ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
สำหรับ"มนตรี"เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 แทนนายสบโชค สุขารมณ์ ที่ได้เกษียณอายุราชการครบ 65 ปี ซึ่งได้ทำหน้าที่เกือบ 2 เดือน และมีอันต้องเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ถือป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นอย่างสูง สามารถจดจำฎีกาที่บรรพตุลาการเคยมีคำวินิจฉัยไว้ได้อย่างแม่นยำทั้งเลขที่ฎีกา องค์คณะผู้พิพากษาที่ตัดสินจนได้ชื่อว่าเป็น "ตู้ฎีกาเคลื่อนที่"และตลอดชีวิตผู้พิพากษากว่า 40 ปี ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในศาลฎีกา กระทั่งได้รับตำแหน่งสูงสุดด้วยวัย 63 ปี ส่วนภรรยาก็อยู่ในแวดวงเดียวกัน"ประทานพร ยอดปัญญา" รับราชการผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ภาค 9
ชื่อ-นามสกุล : นายมนตรี ยอดปัญญา
เกิดวันที่ : 8 สิงหาคม 2493
วันที่เสียชีวิต : 26 พฤศจิกายน 2554
การศึกษา :
-ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล)
-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
-ม.ศ. 4 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- ม.ศ. 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
ระดับปริญญาตรี
- ปี 2519 นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2516
- ปี 2519 เนติบัณฑิต รุ่นที่ 27 ปี พ.ศ.2518
การทำงาน :
-ผู้พิพากษาจังหวัดขอนแก่น
-ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงาน ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
-ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดเชียงใหม่
-ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพิษณุโลก
-ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่งธนบุรี
-ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
-รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้
-ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
-ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา
-30 ก.ย.2552– รองประธานศาลฎีกา จะเกษียณอายุราชการปี 2556
- 1 ต.ค. 2554 ประธานศาลฎีกา
สมบุญ สีคำดอกแค
สถาบันความปลอดภัยฯ ที่จะต้องจัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยฯ พ.ศ. ๒๕๕๔ กำลังสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้อย่างแหลมคม ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ฝังตัวอยู่ในระบบราชการของกระทรวงแรงงาน กับ ภาคประชาชนที่ต้องการให้การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน
ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่า สถาบันความปลอดภัยฯ จะทำหน้าที่ทางวิชาการในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยราชการ ที่จะใช้อำนาจในการกำกับ ตรวจสอบ ป้องกัน การดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของคนงาน การดำเนินงานของสถาบันฯ จะอยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุมของรัฐมนตรี
ปัญหาเกิดจากการตีความ คำว่า "วิชาการ" และ "การกำกับของรัฐมนตรี"
ภาคประชาชนเชื่อว่า การค้นคว้าความรู้ทางวิชาการ การจำแนกแยกแยะปัญหา การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยในแง่มุมต่างๆ ตลอดจนการบูรณาการความรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ต้องเชื่อมโยงกับประเด็นต่างๆที่ซับซ้อน สถาบันฯจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้น นอกเหนือจากการค้นคว้าวิจัยความรู้ต่างๆเช่นเดียวกับที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากได้ดำเนินการอยู่แล้ว จึงควรมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลทางตรง โดยการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และมีอำนาจใน การเข้าไปในสถานประกอบการ เพื่อศึกษาและตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ อย่างถี่ถ้วน
ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อหน่วยราชการที่มีอำนาจในการกำกับ ควบคุม ดูแล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมาย หรือตามนโยบายของรัฐ ข้อเสนอแนะที่เกิดจากการค้นพบใหม่ๆ อาจนำไปสู่ การพัฒนา ปรับปรุง ระเบียบ กฎหมายที่ล้าสมัย รวมทั้งนโยบายความปลอดภัย ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ซับซ้อนในปัจจุบัน
แต่โดยอุดมคติของสถาบันความปลอดภัยฯ ย่อมไม่ฝากความหวังของการแก้ปัญหาที่ใหญ่โต มโหฬาร นี้ไว้กับหน่วยราชการ และโดยที่หน่วยราชการล้มเหลวในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้แรงงาน ด้วยจำนวนคนงานที่เสียชีวิตในระหว่างการทำงานเฉลี่ยปีละเกือบพันคน และบาดเจ็บ พิการ ในรอบสิบปีกว่าล้านคน สถาบันฯจึงต้องมีภารกิจที่สำคัญในการสร้างการรับรู้ และความตระหนักในประเด็นความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับคนในสังคมทุกภาคส่วน
การขับเคลื่อนพลังของสังคม ที่จะช่วยปกป้องเหล่าคนงาน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย จึงเป็นภารกิจโดยตรงของสถาบันฯ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ย่อมมาจากฐานความรู้ที่ถูกต้อง และฐานความรู้ที่ถูกต้อง ย่อมมาจากการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง
ซึ่งทั้งหมดนี้ ย่อมหวังอะไรไม่ได้จากระบบราชการ( ไม่ใช่เพราะเกรงว่า ราชการจะปกปิดข้อมูล แต่ตัวราชการเอง ไม่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ) เหมือนกับที่เราหวังอะไรไม่ได้ในระบบไตรภาคี
นอกจากนั้น โดยลำพังของความรู้ที่ถูกต้อง ย่อมไม่อาจเปลี่ยนเป็นพลังการขับเคลื่อนของสังคมได้ สถาบันความปลอดภัย จึงต้องเป็นสถาบันฯที่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระ ปลอดพ้นจากการครอบงำ
คณะกรรมการสถาบันฯ ต้องได้รับการสรรหาและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย คณะกรรมการสถาบันฯ จะต้องมีองค์ประกอบที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงสัดส่วนจากภาคฝ่ายต่างๆ อย่างเหมาะสม ที่สำคัญ จะต้องมีส่วนที่มาจากราชการไม่มาก และต้องไม่เป็นประธาน
คณะกรรมการฯ เนื่องจากสถาบันฯจะต้องให้ความเห็น ตรวจสอบ และเสนอแนะต่อฝ่ายราชการอย่างตรงไปตรงมา
และเพื่อให้เป็นองค์กรที่ดำเนินการได้อย่างอิสระที่แท้จริง การสรรหาคณะกรรมการสถาบันฯ จึงต้องปลอดจากอิทธิพลของฝ่ายการเมือง
รัฐมนตรี มีหน้าที่ กำกับ และตรวจสอบการดำเนินงานของสถาบันฯ เมื่อไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการใดๆ ของสถาบันฯ ย่อมใช้อำนาจในการยับยั้งได้ โดยให้รัฐบาล หรือสาธารณะเป็นผู้ตัดสินต่อไป
ทั้งการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และความเป็นอิสระที่ปลอดจากอิทธิพลของฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำ เป็นข้อเสนอของภาคประชาชน ที่ฝ่ายผู้มีอำนาจไม่อาจยอมรับได้โดยสิ้นเชิง
การรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งไม่เคยเป็นภารกิจที่สำคัญของฝ่ายราชการ กลายเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะยอมให้ไม่ได้อย่างถึงที่สุด อนุกรรมการร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันฯ ซึ่งเป็นตัวแทนภาคประชาชน ต่างรู้สึกแปลกใจกับการที่ฝ่ายราชการคัดค้านประเด็นการรับเรื่องราวร้องทุกข์ อย่างที่เรียกได้ว่า ไม่มีการประนีประนอมโดยเด็ดขาด แม้ว่าข้อเสนอของตัวแทนภาคประชาชน จะพยายามประนีประนอมด้วยการลดบทบาทของสถาบันฯให้กระทำการ "ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" (ทำด้วยตัวเองไม่ได้) แต่ก็ได้รับการคัดค้านอย่างเหนียวแน่น
ที่น่าผิดหวังเป็นที่สุด คือ ฝ่ายการเมืองที่นั่งเป็นประธานในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับความคาดหวังว่า จะเข้าใจสถานการณ์ของคนยากจน และจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการคลี่คลาย กับดำเนินบทบาทเสมือนหนึ่งผู้ปกป้องฝ่ายราชการ
เช่นเดียวกับ "ความเป็นอิสระ" ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่อาจจะยอมให้ได้โดยสิ้นเชิง คณะกรรมการสถาบันฯ ต้องมาจาก คณะกรรมการสรรหา ที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี ข้าราชการเป็นประธานคณะกรรมการได้ ใช้ระบบไตรภาคีในการเลือกผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง จึงเป็นข้อสรุปสุดท้ายที่ฝ่ายราชการจะต้องผลักดันต่อไปให้ถึงที่สุด
หัวใจสำคัญของการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเจตนารมณ์ของเหล่าผู้ใช้แรงงาน คือ ความเป็นอิสระ และ กระบวนการมีส่วนร่วม
หมายเหตุ : ปัจจุบันสถาบันฯผ่านการพิจารณาของอนุกรรมการยกร่างนำผ่านที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งาชาติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 สภาเครือข่ายฯและเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานได้คัดค้านต่อ รัฐมนตรีเผดิมชัย สะสมทรัพย์ จนมีการแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาข้อหารือของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯโดยให้มีการทบทวนในเนื้อหาของกฎหมาย พรฎ.จัดตั้งสถาบันฯของผู้ใช้แรงงานที่เดินทางยาวนานถึง19 ปี จากข้อเสนอเรียกร้องของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ฯสมัชชาคนจน และมาเข้าสภาฯโดยพลังของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน และวันที่ 27 พย.2554 นี้ทางสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยโดยการสนับสนุนงบประมาณของแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จะได้จัดเวทีชำแหละเวทีชำแหละร่าง พรฏ .สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ฉบับ กระทรวงแรงงานก่อนสู่ขบวนการคลอดเป็นกฎหมาย วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ (เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๓๐ น.) สถานที่ ณ ห้อง Peridot ๒-๓ ชั้น ๓โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรีจึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมงานทำข่าวต่อไป ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ.โอกาสนี้
เมื่อวันที่ 25 เมษายนปีนี้ เกิดเหตุการณ์แหกคุกครั้งใหญ่ของโลกเลยก็ว่าได้ การแหกคุกครั้งนี้เป็นฝีมือของนักโทษจำนวนมากถึง 480 คน เลยทีเดียว และทั้งหมดไม่ใช่แค่นักโทษทั่วไป แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักรบตาลีบัน ซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง (โดยเฉพาะกับชาติตะวันตก) ซึ่งถูกทหารอเมริกันจับในสงครามอัฟกานิสถานที่ต่อเนื่องมาแล้วหลายปี
เหตุการณ์ เกิดขึ้นเวลาราวๆ ตีสี่ของวันที่ 25 เมษายน 2554 ที่เรือนจำซาโปซ่า ในเมืองกันดาหาร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยตาลีบันปกครองอัฟกานิสถาน เมื่อผู้คุมจำนวนหนึ่งพบว่านักโทษจำนวนมากหลบหนีไป โดยใช้อุโมงค์ที่แอบขุดขึ้นมา จากการสอบ สวนพบว่าพวกนักโทษน่าจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้คุมบางคน
ช่องลมที่ถูกเจาะเป็นทางหนีจากอัลคาทราซ.
อุโมงค์ หลบหนีที่คาดว่าใช้เวลาขุดกันนานกว่า 5 เดือนนั้นลึกลงไปจากผิวดิน 2 เมตร ยาวประมาณ 320 เมตร พวกนักโทษขุดอุโมงค์ลอดใต้ จุดตรวจของเจ้าหน้าที่เรือนจำ หอคอยและกำแพงเรือนจำกับเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวทั้งหมด ไปทะลุออกในบ้านหลังหนึ่งนอกเรือนจำ อุโมงค์นี้กว้างแค่พอคลานไปได้ทีละคน มีการวางท่ออากาศเข้าไปในอุโมงค์ มีที่แขวนหลอดไฟ ซึ่งคาดว่าใช้ ในตอนที่แอบขุดอุโมงค์กัน
3 ปีก่อนหน้านี้ เรือนจำนี้ถูกโจมตีโดยนักรบตาลีบันเพื่อปล่อยนักโทษ มีนักโทษหนีออกไปได้ราว 1,200 คน ในจำนวนนั้นเป็นทหารตาลีบันราว 300 กว่าคน
ทางลงอุโมงค์ที่นักโทษตาลีบันหลบหนีออกไป.
เหตุการณ์ ที่ว่านี้มีนักโทษหนีได้มากก็จริง แต่ย้อนไปในอดีต มีการแหกคุกที่ต้องจารึกไว้ว่าเป็นสุดยอดของการแหกคุก ซึ่งคอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย'ตูนก็นำมาเสนอกัน เช่นเคยครับ
อัลคาทราซห่างจากเมืองซานฟรานซิสโกออกไปในทะเลบริเวณที่ เป็นอ่าวชื่อเดียวกับตัวเมือง 2.4 กม. มีเกาะ ชื่อว่า อัลคาทราซ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ The Rock เนื่องจากมันเป็นเกาะที่มีแต่หินเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง เดิมทีเดียวเกาะนี้ใช้เป็นที่ตั้งประภาคารสำหรับเรือที่แล่นผ่านเข้าออกใน อ่าวซานฟรานซิสโก แต่ในราวกลางศตวรรษที่ 19 ในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ทางกองทัพใช้เกาะนี้เป็นที่คุมขังนักโทษการเมือง จนกระทั่งปี พ.ศ.2476 กองทัพจึงเลิกใช้ที่นั่นเป็นที่คุมขังนักโทษของกองทัพทั้งหมด แต่เนื่องจากอาคารเรือนจำต่างๆ ที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดีทุกอย่าง ในปีต่อมาทางการจึงใช้มันเป็นเรือนจำสำหรับนักโทษทั่วไป
ทางเดินภายในอัลคาทราซ.
อัลคาทราซเป็นที่คุมขังนักโทษซึ่งก่อคดีอุกฉกรรจ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมาเฟียชื่อดังก้องโลกอย่างอัล คาโปน ด้วย
อัล คาทราซได้ชื่อว่าเป็นคุกที่ไม่มีใครจะหลบหนีออกไปได้ ตลอดเวลาใช้งานเป็นเวลา 29 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2477 มีความพยายามถึง 14 ครั้ง จากนักโทษ จำนวน 36 คน ที่พยายามหลบหนี มี 2 คนที่พยายาม ถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ 23 คนถูกจับได้ 6 คนถูกยิงตายระหว่างการหลบหนี อีก 3 คนทางการรายงานว่าเสียชีวิตในทะเล แต่ก็ไม่เคยมี ใครพบศพของพวกเขาแม้แต่คนเดียว
แฟรงค์ มอร์รีส นักโทษหมายเลข 1441 ผู้มีประวัติในการถูกจับมาตั้งแต่วัยเด็กและขึ้น ชื่อในเรื่องของความฉลาด จอห์น แองกลิน และ แคลเรนซ์ แองกลิน 2 พี่น้องผู้ถูกจับในข้อหาปล้นธนาคาร คือนักโทษ 3 คน ที่แหกคุกอัลคาทราซแล้วหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย แผนการหลบหนีของทั้ง 3 ทำไว้อย่างแยบยล กับอุปกรณ์ที่ดัดแปลงขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ คือพวกเขาพบว่าผนังคอนกรีตที่อยู่ขอบๆ ช่องลม ขนาด 6×9 นิ้ว ใต้อ่างล้างหน้าในห้องขังนั้นจะเปื่อยยุ่ยกว่าผนังส่วนอื่น พวกเขาจึงหาอุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในนั้น เช่น ช้อนโลหะ เหรียญ สว่านไฟฟ้าที่ทำจากมอเตอร์เครื่องดูดฝุ่น เป็นเครื่องมือในการ เจาะผนังปูน พวกเขาทำฉากที่ลงสีให้คล้ายกับผนังจริงปิดบังไว้ เพื่อไม่ให้ผู้คุมเห็นร่องรอยของการเจาะ และแสงทึมๆ ในห้องยังช่วยอำพรางไว้อีกชั้นหนึ่ง
ปากทางออกของอุโมงค์เฮนรี่.
ต้นทางของอุโมงค์เฮนรี่ที่ถูกอนุรักษ์ไว้.
เส้น ทางการหลบหนีจะไปเจอช่องระบายอากาศที่เคยมีพัดลมขนาดใหญ่ขวางอยู่ แต่ภายหลังพัดลมถูกถอดออกแล้วใช้ตะแกรงเหล็กใส่ไว้แทน พวกเขาแอบซ่อนหินเจียจากห้องช่างในชั่วโมงฝึกงาน เพื่อไปฝนให้หมุดโลหะที่ยึดตะแกรงเหล็กนั้นหลุดออกจากช่องคอนกรีต แล้วก็ใช้สบู่อุดรูให้ดูเหมือนกับหมุดยังอยู่ตามปกติ เสื้อกันฝนจำนวนมากถูกแอบขโมยไปเพื่อใช้ทำเป็นแพสำหรับข้ามทะเลไปหาฝั่ง และพวกเขายังทำหุ่นจากกระดาษมีรูปร่างเหมือนคนไว้หลอกผู้คุม โดยติดเส้นผมจริงที่แอบฉกมาจากห้องตัดผมในเรือนจำ หุ่นนั้นจะนอนห่มผ้าโผล่ออกมาให้เห็นแต่ศีรษะด้านหลังที่มีผมปลอมคลุมอยู่
แผนการ หลบหนีได้รับการเปิดเผยต่อ FBI โดยอลัน เวสต์ นักโทษอีกคนที่พยายามหลบหนีไปพร้อมกัน แต่ไม่สำเร็จ เจ้าหน้าที่พบไม้อัดและเสื้อกันฝนที่ใช้ทำเป็นแพลอยไปติดอยู่ที่เกาะแองเจิล ซึ่งเป็นเกาะอีกเกาะหนึ่งในอ่าว แต่ก็ไม่พบตัวนักโทษที่นั่นหรือที่ฝั่งของเมืองซานฟรานซิสโก แม้แต่คนเดียว ทางการจึงสรุปว่า ทั้ง 3 เสียชีวิตจากการจมน้ำที่เย็นจัดขณะพยายามหลบหนีไปขึ้นฝั่ง แต่ผู้ที่สนใจติดตามข่าวนี้จำนวนมากเชื่อว่าทั้ง 3 รอดชีวิตไปได้อย่างแน่นอน
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดการเรือนจำ แห่งนี้สูงมาก ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเลิกใช้เป็นเรือนจำใน พ.ศ.2506 และเปิดเป็นศูนย์ฝึกอบรมอาชีพให้กับคนพื้นเมืองอเมริกัน ใน พ.ศ.2512 จนถึง 2514 ศูนย์นั้นก็ปิดไป ปีต่อมาเกาะอัลคาทราซถูกยกโอนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
เรือนจำซาโปซ่า.
อุโมงค์ที่นักโทษตาลีบันขุดไว้.
The Great Escape
ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารพันธมิตรจำนวนมากถูกจับเป็นเชลยโดยฝ่ายเยอรมัน เชลยจำนวนหนึ่งถูกจับไปรวมกันไว้ที่ค่ายกักกันชื่อ Stalag Luft III ซึ่งเป็นค่ายที่มีการคุ้มกันที่แน่นหนามากที่สุดค่ายหนึ่ง
ระหว่าง เดือนมีนาคม พ.ศ.2486 ถึงเดือนเมษายนปีถัดไป เชลยจำนวนกว่า 600 ชีวิตร่วมมือกันวางแผนเพื่อหลบหนีจากค่ายดังกล่าว ตามแผนนั้น พวกเขาต้องขุดอุโมงค์ถึง 3 อุโมงค์ เพื่อเป็นเส้นทางหลบหนี
ความคิด ในการหลบหนีเริ่มต้นที่นาวาอากาศตรี โรเจอร์ บูเชล นายทหารจากกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักร ผู้ที่ถูกจับได้หลายครั้งแล้วจากการพยายามหลบหนีจากค่ายกักกันอื่นๆ ก่อนหน้า นี้ เขานำความคิดดังกล่าวไปหารือกับเพื่อนเชลยด้วยกัน ตอนแรกไม่มีใครเห็นด้วย แต่ต่อมาทุกคนก็ร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้แผนการนั้นเดินหน้าไปจนถึงที่สุด และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อการหลบหนีขึ้นมา
เกาะอัลคาทราซจากมุมมองต่างๆ.
แผนการ ที่ว่านั้นประกอบไปด้วยการขุดอุโมงค์ 3 อุโมงค์ นอกจากนั้นก็แบ่งคณะทำงานอีกกลุ่มหนึ่ง มีหน้าที่ทำเอกสารปลอม กับตัดเสื้อผ้าแบบพลเรือนที่จะใส่เวลาหลบหนีออกจากค่ายไปได้
ในส่วน ของอุโมงค์นั้น เดิมตั้งเป้าไว้ว่าจะให้เชลยจำนวนสิบกว่าถึงยี่สิบคนเท่านั้นหลบหนีออกไปได้ แต่ตัวบูเชลเองต้องการมากถึง 200 อุโมงค์ ทั้ง 3 มีรหัสว่า ทอม, ดิ๊ก, แฮรี่ (Tom, Dick, Harry) แต่ทั้งหมดนั้น มีเพียงแฮรี่ที่ขุดไว้ใต้เตาไฟเท่านั้นที่ขุดสำเร็จ
ปัญหาใหญ่ที่ต้องจัดการมี 2 ข้อคือ จะเอาดินจากการขุดไปทิ้งที่ไหน อย่างไร กับจะป้องกันไม่ให้อุโมงค์ถล่มลงมาได้อย่างไร
อุโมงค์ นั้นลึกถึง 9 เมตร กว้างแค่ 60×60 ซม. เท่านั้น ดินและทรายที่เกิดจากการขุดจะถูกนำไปทิ้งโดยหลายวิธี เช่น การทิ้งแบบ เพนกวิน คือเอาดินใส่ในถุงเท้าเก่าแล้วผูกไว้ข้างขาที่สวมกางเกงขายาวทับอยู่บ้าง เอาซ่อนไว้ในเสื้อโดยห้อยไว้ที่คอบ้าง เมื่อคนนั้นเดินไปกลางลานในค่ายก็จะดึงเชือกที่ผูกปากถุงเท้านั้นให้ดินไหล ออกไปบนลานแล้วใช้เท้าเกลี่ยให้กลืนไปกับดินที่ลาน อีกวิธีเรียกว่า กาชาด คือการเอาดินใส่ในกระป๋องนมเปล่าที่มีเครื่องหมายกาชาด ผู้ที่ีถือกระป๋องนี้จะเดินเข้าไปในกลุ่มเชลยด้วยกันที่ทำหน้าที่บังสายตา พวกเยอรมัน เมื่อได้โอกาสก็จะเทดินทิ้ง อีกวิธีหนึ่งคือ ในเวลาทำสวนก็แอบเอาดินไปทิ้งตามแปลงดอกไม้ในค่าย ปริมาณดินที่พวกเขาขุดออกมานั้น มีน้ำหนักรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ตันเลยทีเดียว
อีกปัญหาหนึ่งที่ยากไม่แพ้กันคือ ทำอย่างไรไม่ให้อุโมงค์ถล่ม พวกเขาแก้ปัญหานี้โดยการหาแผ่นไม้มาค้ำ ซึ่งไม้ส่วนใหญ่ได้มาจากเตียงนอนของ พวกเขานั่นเอง เตียงปกติจะมีแผ่นไม้จำนวน 20 แผ่นรองอยู่ แต่หลังจากอุโมงค์ขุดไปไกลขึ้นเรื่อยๆ แต่ละเตียงจะเหลือแผ่นไม้เพียงห้าหกแผ่นเท่านั้น นอกจากนั้น เพื่อให้คนขุดมีอากาศหายใจ พวกเชลยก็สร้างปั๊มลมขึ้นมาจากกระป๋องนม ไม้จากเตียง ไม้ฮอกกี้ และกระสอบ เพื่อให้ การลำเลียงดินที่ขุดออกมานำไปทิ้งได้เร็ว พวกเชลยก็สร้างล้อเลื่อนเล็กๆ ไว้ในนั้นเพื่อขนถ่ายดินด้วย ส่วนไฟฟ้านั้นแอบต่อเข้ากับสายเมนของค่ายที่พวกเยอรมันตรวจไม่พบ
ค่าย Stalag Luft III ในอดีต.
อย่างไร ก็ตาม ใช่ว่าฝ่ายเยอรมันจะซื่อบื้อถึงขนาดไม่รู้อะไรเลย พวกเขาก็สงสัย แต่ตรวจไม่พบหลักฐานใดๆ เชลยซึ่งเป็นที่สงสัยจำนวน 19 คน ถูกย้าย ไปที่ค่ายอื่น ในจำนวนนั้นมี 6 คน ที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญ ของแผนการหลบหนี
ต่อ มาอุโมงค์ Dick ต้องถูกยกเลิกการขุด เพราะฝ่ายเยอรมัน ขยายพื้นที่ของค่ายออกไปถึงจุดที่กะไว้ว่าจะเป็นปลายอุโมงค์ อุโมงค์นี้จึงใช้เป็นที่ทิ้งดินจากหลุมอื่นกับใช้เป็นที่ซ่อนเครื่องมือและ ข้าวของเครื่องใช้ที่เตรียมไว้ยามหลบหนีออกไป
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 อุโมงค์ Tom ก็ถูกเยอรมันตรวจพบ เนื่องจากพวกเขาแอบมองจากในป่านอกค่าย เห็นพวกเพนกวินนำดินออกจากเรือนพักหลังหนึ่งออกไปทิ้ง การพบอุโมงค์ครั้งนั้น ทำให้การขุด Harry ต้องหยุดไปด้วยเพื่อความปลอดภัย จน กระทั่งเดือนมกราคมปีต่อมา การขุดจึงเริ่ม ขึ้นอีกครั้งและไปแล้วเสร็จเอาในอีก 2 เดือนต่อมา
ภายในอุโมงค์เฮนรี่.
ตาม แผนการหลบหนีที่วางกันไว้ พวกเชลยจะหนีออกจากค่ายเมื่อเข้าฤดูร้อน แต่กำหนดการก็เร่งขึ้นมา เมื่อเกสตาโปสั่งให้ผู้บัญชาการค่ายกักกันตรวจตราอย่างหนักเพื่อป้องกันการ หลบหนีของเชลย นาวาอากาศตรีบูเชลในฐานะหัวหน้าจึงตัดสินใจว่าจะหลบหนีทันทีเมื่อ Harry ขุดสำเร็จ ซึ่งในจำนวนเชลยที่ร่วมมือกันทั้งหมดราว 600 คนนั้น มีเพียง 200 คนที่จะได้หนีไปในครั้งนี้ พวกเขาแบ่งผู้จะหนีเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีโอกาสรอดสูง คือพูดภาษาเยอรมันได้ และมีที่ไปที่ชัดเจน กับอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการถูกจับสูง เพราะพูดเยอรมันได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย
การหลบหนีเลือกเอาคืนวัน ศุกร์ที่ 24 มีนาคม เป็นคืนเดือนมืด ผู้ที่เตรียมตัวจะหนีก็ทยอยไปที่เรือนนอนหมายเลข 104 ซึ่งทางเข้าอุโมงค์อยู่ในนั้น แต่โชคก็ไม่เข้าข้างนัก เมื่อพบว่าปลายอุโมงค์โผล่ขึ้นท่ามกลางต้นไม้ในป่าก็จริง แต่ป่าบริเวณนั้นมีต้นไม้ค่อนข้างห่าง แถมยังห่างจากหอคอยของค่ายไปแค่สิบกว่าเมตร จึงทำให้ ถูกตรวจพบได้ง่ายมาก และปากทางออกอุโมงค์ซึ่งทำบานปิดเปิดไว้นั้น ถูกน้ำแข็งจับตัวแน่นจนเปิดไม่ได้ ต้องเสียเวลาไปอีกกว่าชั่วโมงครึ่ง พื้นดินที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ทำให้เกิดร่องรอยชัดเจน ดังนั้น จากเดิมที่กะกันไว้ว่าเชลย 1 คน ใช้เวลา 1 นาที ในการออกจากอุโมงค์ กลายเป็นแค่สิบกว่าคนต่อชั่วโมง พวกเขาจึงบอกกันว่าคงไปกัน ได้ไม่เกิน 100 คน ก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น พวกที่รู้ตัวว่าหมดโอกาสในคืนนั้นแน่นอนก็เปลี่ยนชุดกลับไปเป็นชุดเดิมแล้วก ลับไปนอนตามที่ของตน เหตุการณ์แย่ลงไปอีกเมื่อสัญญาณเตือนภัยทางอากาศดังขึ้นเมื่อราวเที่ยงคืน ทำให้ค่ายต้องปิดไฟจนมืดสนิท ทหารยามก็ส่องไฟกันมากขึ้นในช่วงนั้น ทำให้ต้องหยุดการหลบหนีไว้ช่วงหนึ่ง แต่แล้วเมื่อเวลาตีหนึ่ง อุโมงค์เกิดถล่มลงมาจุดหนึ่ง ทำให้ต้องเสีย เวลาซ่อมแซมกันอีก
ท้าย สุดเมื่อเวลาก่อนตีห้าเล็กน้อย เชลยจำนวน 76 คน หลบหนีออกไปได้ แต่คนที่ 77 ซึ่งเป็นนาย ทหารอากาศของนิวซีแลนด์ ถูกยามคนหนึ่งมองเห็น เขาจึงยกมือขึ้นเพื่อยอมให้จับ และเปิดโอกาสให้คนอื่นๆหนีเข้าป่าไป พวกทหารเยอรมันยังไม่ทราบว่าพวกเชลยออกมาทางไหน จึงไม่ได้พยายามจะหาทางออก แต่ส่งทหารเข้าไปตรวจตามเรือนนอนต่างๆ เรือนนอนหมายเลข 104 เป็นหลังท้ายๆ ที่ทหารเข้าไปตรวจพร้อมกับสุนัข ซึ่งอุโมงค์ก็ถูกพบในเวลานั้น
การ หลบหนีของเชลย แม้ว่าจะหลุดออกมาจากค่ายกักกันแล้ว แต่ปัญหาใหม่ที่แทบทุกคนเจอคือ หาทางไปสถานีรถไฟไม่ถูก ต้องรอจนกระทั่งฟ้า สาง ประจวบกับขณะนั้นเป็นฤดูหนาวที่หิมะตกหนัก และหนามาก
ในจำนวนที่ หนีออกจากค่ายไปได้ 76 คน หนีรอดกลับไปอังกฤษได้เพียง 3 คน ถูกจับกลับไปถึง 73 คน แต่ในจำนวนนั้นมีเพียง 23 คนเท่านั้นที่มีชีวิตอยู่ อีก 50 คน (รวมทั้งนาวาอากาศตรีโรเจอร์ บูเชล) ถูกสั่งให้สังหารโดยฮิตเลอร์เอง ไม่เพียงแต่เชลยเท่านั้นที่ถูกฆ่า สถาปนิกผู้ออกแบบค่าย ทหารยามในคืนนั้น อีกทั้งคนงานเยอรมันที่ปล่อยให้เชลยแอบต่อไฟฟ้าใช้ ก็ถูกประหารชีวิตด้วย
ยังมีเรื่องราวการหลบหนีออกจากการคุมขังที่ไม่น่าเชื่ออีกหลายเรื่องครับ ถ้าสนใจก็ติดตามอ่านได้ในนิตยสารต่วย'ตูน พิเศษ ครับผม.
ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน
โดย: ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน
20 พฤศจิกายน 2554, 05:15 น.
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาทั้งคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก โดยเฉพาะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรณี ผลกระทบจาก น้ำท่วม กับการใช้ชีวิตของประชาชน จำนวน 1,288 คน ระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลกระทบจาก "น้ำท่วม" ที่ประชาชนได้รับ
2. การใช้ชีวิตของประชาชนในช่วง "น้ำท่วม" เปลี่ยนไปอย่างไร?
3. เมื่อน้ำลด ประชาชนจะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตอะไรบ้าง
4. การเตรียมตัว ของประชาชน หากเจอเหตุการณ์น้ำท่วมอีก
|