วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล จัดงาน ประชุมวิชาการดนตรีวิทยา เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี” ระหว่างวันที่ 24-25 ก.พ. ในงานมีทั้งนิทรรศการ งานวิชาการ งานเสวนา และการแสดงดนตรี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสครบรอบ 100 ปี บรมราชาภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม งานประชุมวิชาการดนตรีวิทยา เรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี ภายในงานแสดงประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี ที่ทรงก่อตั้ง ทั้งงานดนตรีไทย ดนตรีฝรั่ง และงานกรมมหรสพมีทั้งเรื่องการสร้างศิลปินทุกสาขาจำนวนมาก ล้วนมีทั้งฝีมือและความรอบรู้ สามารถในงานศิลปะ จนได้สืบสานการเป็นครูเป็นแบบอย่างให้ศิลปะการแสดงของชาติมั่นคงอยู่ได้ ทั้งตกทอดมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติจนถึงทุกวันนี้ โดยจัดรูปแบบเป็นนิทรรศการ และการเสวนาความรู้ 2 วัน ได้แก่ วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ตั้งแต่เวลา 8.00-21.00 น. พบการเสนอบทความวิชาการเรื่องดนตรีและการแสดงสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้งอดีตที่คนรุ่นปัจจุบันอาจไม่รู้จัก อาทิเช่น พระราชนิพนธ์เสภา เรื่อง พญาราชวังสัน, งานพระราชนิพนธ์เบิกโรง, งานพระราชนิยม “วงเครื่องสายผสมเปียโนฝ่ายใน ราชสำนักรัชกาลที่ 6, การเสวนาเรื่อง “ละครเพลงร้อง 6 เรื่อง ในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6”, ผลงานวิจัย “เพลงตับเรื่องพระนาละ” งานพระราชนิพนธ์ อายุกว่า 100 ปี ที่ค้นพบจากแผ่นเสียงโบราณ พร้อมรับฟังการขับร้องและบรรเลงบทเพลงไทยสากลบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 โดยวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (TPO) วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 8.00-16.30 รับฟังประวัติศาสตร์ กำเนิดเพลงดนตรี ครั้งรัชกาลที่ 6 ที่หาฟังได้ยาก อาทิเช่น ประวัติ “ครูผู้สอนดนตรีฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 6” อย่าง หมื่นคำรณพิฆาต, หมื่นอำนาจไพรี, ขุนดนตรีบรรเลง, ทูลกระหม่อมบริพัตร, หลวงวาทิตบรเทศ (แดง), Alberto Nazzari หรือ พระประดิษฐ์ไพเราะ (เอ.วัน วาระศิริ), พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) การเสวนาโรงเรียนพรานหลวงและกำเนิดวงเครื่องสายฝรั่งหลวง “มหาอุปรากรในสมัยรัชกาลที่ 6”, เสวนา “ดัมแครมโบ” พระราชนิยมการละเล่นในราชสำนักรัชกาลที่ 6” เรื่อง “สมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯกับกำเนิดภาพยนตร์ไทย” สำหรับกิจกรรมนี้จัดขึ้น ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-800-2525 ต่อ 153-4 หรือ www.music.mahidol.ac.th
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น