วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เหตุการณ์แหกคุกครั้งใหญ่ของโลก

 

บันลือโลก

เมื่อวันที่ 25 เมษายนปีนี้ เกิดเหตุการณ์แหกคุกครั้งใหญ่ของโลกเลยก็ว่าได้ การแหกคุกครั้งนี้เป็นฝีมือของนักโทษจำนวนมากถึง 480 คน เลยทีเดียว และทั้งหมดไม่ใช่แค่นักโทษทั่วไป แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักรบตาลีบัน ซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง (โดยเฉพาะกับชาติตะวันตก) ซึ่งถูกทหารอเมริกันจับในสงครามอัฟกานิสถานที่ต่อเนื่องมาแล้วหลายปี

เหตุการณ์ เกิดขึ้นเวลาราวๆ ตีสี่ของวันที่ 25 เมษายน 2554 ที่เรือนจำซาโปซ่า ในเมืองกันดาหาร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยตาลีบันปกครองอัฟกานิสถาน เมื่อผู้คุมจำนวนหนึ่งพบว่านักโทษจำนวนมากหลบหนีไป โดยใช้อุโมงค์ที่แอบขุดขึ้นมา จากการสอบ สวนพบว่าพวกนักโทษน่าจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้คุมบางคน

 

ช่องลมที่ถูกเจาะเป็นทางหนีจากอัลคาทราซ.

ช่องลมที่ถูกเจาะเป็นทางหนีจากอัลคาทราซ.


อุโมงค์ หลบหนีที่คาดว่าใช้เวลาขุดกันนานกว่า 5 เดือนนั้นลึกลงไปจากผิวดิน 2 เมตร ยาวประมาณ 320 เมตร พวกนักโทษขุดอุโมงค์ลอดใต้ จุดตรวจของเจ้าหน้าที่เรือนจำ หอคอยและกำแพงเรือนจำกับเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวทั้งหมด ไปทะลุออกในบ้านหลังหนึ่งนอกเรือนจำ อุโมงค์นี้กว้างแค่พอคลานไปได้ทีละคน  มีการวางท่ออากาศเข้าไปในอุโมงค์ มีที่แขวนหลอดไฟ ซึ่งคาดว่าใช้ ในตอนที่แอบขุดอุโมงค์กัน

3 ปีก่อนหน้านี้ เรือนจำนี้ถูกโจมตีโดยนักรบตาลีบันเพื่อปล่อยนักโทษ มีนักโทษหนีออกไปได้ราว 1,200 คน ในจำนวนนั้นเป็นทหารตาลีบันราว 300 กว่าคน

 

 

ทางลงอุโมงค์ที่นักโทษตาลีบันหลบหนีออกไป.

ทางลงอุโมงค์ที่นักโทษตาลีบันหลบหนีออกไป.


เหตุการณ์ ที่ว่านี้มีนักโทษหนีได้มากก็จริง แต่ย้อนไปในอดีต มีการแหกคุกที่ต้องจารึกไว้ว่าเป็นสุดยอดของการแหกคุก  ซึ่งคอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย'ตูนก็นำมาเสนอกัน เช่นเคยครับ

อัลคาทราซห่างจากเมืองซานฟรานซิสโกออกไปในทะเลบริเวณที่ เป็นอ่าวชื่อเดียวกับตัวเมือง 2.4 กม. มีเกาะ ชื่อว่า อัลคาทราซ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ The Rock เนื่องจากมันเป็นเกาะที่มีแต่หินเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง เดิมทีเดียวเกาะนี้ใช้เป็นที่ตั้งประภาคารสำหรับเรือที่แล่นผ่านเข้าออกใน อ่าวซานฟรานซิสโก แต่ในราวกลางศตวรรษที่ 19 ในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นที่สหรัฐอเมริกา  ทางกองทัพใช้เกาะนี้เป็นที่คุมขังนักโทษการเมือง จนกระทั่งปี พ.ศ.2476 กองทัพจึงเลิกใช้ที่นั่นเป็นที่คุมขังนักโทษของกองทัพทั้งหมด แต่เนื่องจากอาคารเรือนจำต่างๆ ที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดีทุกอย่าง ในปีต่อมาทางการจึงใช้มันเป็นเรือนจำสำหรับนักโทษทั่วไป

 

 

ทางเดินภายในอัลคาทราซ.

ทางเดินภายในอัลคาทราซ.


อัลคาทราซเป็นที่คุมขังนักโทษซึ่งก่อคดีอุกฉกรรจ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมาเฟียชื่อดังก้องโลกอย่างอัล คาโปน ด้วย

อัล คาทราซได้ชื่อว่าเป็นคุกที่ไม่มีใครจะหลบหนีออกไปได้ ตลอดเวลาใช้งานเป็นเวลา 29 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2477 มีความพยายามถึง 14 ครั้ง จากนักโทษ จำนวน 36 คน ที่พยายามหลบหนี มี 2 คนที่พยายาม ถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ 23 คนถูกจับได้ 6 คนถูกยิงตายระหว่างการหลบหนี  อีก 3 คนทางการรายงานว่าเสียชีวิตในทะเล  แต่ก็ไม่เคยมี ใครพบศพของพวกเขาแม้แต่คนเดียว

แฟรงค์ มอร์รีส นักโทษหมายเลข 1441 ผู้มีประวัติในการถูกจับมาตั้งแต่วัยเด็กและขึ้น ชื่อในเรื่องของความฉลาด จอห์น แองกลิน และ แคลเรนซ์ แองกลิน 2 พี่น้องผู้ถูกจับในข้อหาปล้นธนาคาร คือนักโทษ 3 คน ที่แหกคุกอัลคาทราซแล้วหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย แผนการหลบหนีของทั้ง 3 ทำไว้อย่างแยบยล กับอุปกรณ์ที่ดัดแปลงขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ คือพวกเขาพบว่าผนังคอนกรีตที่อยู่ขอบๆ ช่องลม ขนาด 6×9 นิ้ว ใต้อ่างล้างหน้าในห้องขังนั้นจะเปื่อยยุ่ยกว่าผนังส่วนอื่น พวกเขาจึงหาอุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในนั้น เช่น ช้อนโลหะ เหรียญ สว่านไฟฟ้าที่ทำจากมอเตอร์เครื่องดูดฝุ่น   เป็นเครื่องมือในการ เจาะผนังปูน พวกเขาทำฉากที่ลงสีให้คล้ายกับผนังจริงปิดบังไว้ เพื่อไม่ให้ผู้คุมเห็นร่องรอยของการเจาะ และแสงทึมๆ ในห้องยังช่วยอำพรางไว้อีกชั้นหนึ่ง

 

 

ปากทางออกของอุโมงค์เฮนรี่.

ปากทางออกของอุโมงค์เฮนรี่.

ต้นทางของอุโมงค์เฮนรี่ที่ถูกอนุรักษ์ไว้.

ต้นทางของอุโมงค์เฮนรี่ที่ถูกอนุรักษ์ไว้.


เส้น ทางการหลบหนีจะไปเจอช่องระบายอากาศที่เคยมีพัดลมขนาดใหญ่ขวางอยู่ แต่ภายหลังพัดลมถูกถอดออกแล้วใช้ตะแกรงเหล็กใส่ไว้แทน  พวกเขาแอบซ่อนหินเจียจากห้องช่างในชั่วโมงฝึกงาน เพื่อไปฝนให้หมุดโลหะที่ยึดตะแกรงเหล็กนั้นหลุดออกจากช่องคอนกรีต แล้วก็ใช้สบู่อุดรูให้ดูเหมือนกับหมุดยังอยู่ตามปกติ เสื้อกันฝนจำนวนมากถูกแอบขโมยไปเพื่อใช้ทำเป็นแพสำหรับข้ามทะเลไปหาฝั่ง และพวกเขายังทำหุ่นจากกระดาษมีรูปร่างเหมือนคนไว้หลอกผู้คุม โดยติดเส้นผมจริงที่แอบฉกมาจากห้องตัดผมในเรือนจำ หุ่นนั้นจะนอนห่มผ้าโผล่ออกมาให้เห็นแต่ศีรษะด้านหลังที่มีผมปลอมคลุมอยู่

แผนการ หลบหนีได้รับการเปิดเผยต่อ FBI โดยอลัน เวสต์ นักโทษอีกคนที่พยายามหลบหนีไปพร้อมกัน แต่ไม่สำเร็จ เจ้าหน้าที่พบไม้อัดและเสื้อกันฝนที่ใช้ทำเป็นแพลอยไปติดอยู่ที่เกาะแองเจิล ซึ่งเป็นเกาะอีกเกาะหนึ่งในอ่าว  แต่ก็ไม่พบตัวนักโทษที่นั่นหรือที่ฝั่งของเมืองซานฟรานซิสโก แม้แต่คนเดียว ทางการจึงสรุปว่า ทั้ง 3 เสียชีวิตจากการจมน้ำที่เย็นจัดขณะพยายามหลบหนีไปขึ้นฝั่ง แต่ผู้ที่สนใจติดตามข่าวนี้จำนวนมากเชื่อว่าทั้ง 3 รอดชีวิตไปได้อย่างแน่นอน

เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดการเรือนจำ แห่งนี้สูงมาก ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเลิกใช้เป็นเรือนจำใน พ.ศ.2506 และเปิดเป็นศูนย์ฝึกอบรมอาชีพให้กับคนพื้นเมืองอเมริกัน ใน พ.ศ.2512 จนถึง 2514 ศูนย์นั้นก็ปิดไป ปีต่อมาเกาะอัลคาทราซถูกยกโอนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

 

 

เรือนจำซาโปซ่า.

เรือนจำซาโปซ่า.

อุโมงค์ที่นักโทษตาลีบันขุดไว้.

อุโมงค์ที่นักโทษตาลีบันขุดไว้.


The Great Escape

ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารพันธมิตรจำนวนมากถูกจับเป็นเชลยโดยฝ่ายเยอรมัน เชลยจำนวนหนึ่งถูกจับไปรวมกันไว้ที่ค่ายกักกันชื่อ Stalag Luft III ซึ่งเป็นค่ายที่มีการคุ้มกันที่แน่นหนามากที่สุดค่ายหนึ่ง

ระหว่าง เดือนมีนาคม พ.ศ.2486 ถึงเดือนเมษายนปีถัดไป เชลยจำนวนกว่า 600 ชีวิตร่วมมือกันวางแผนเพื่อหลบหนีจากค่ายดังกล่าว ตามแผนนั้น พวกเขาต้องขุดอุโมงค์ถึง 3 อุโมงค์ เพื่อเป็นเส้นทางหลบหนี

ความคิด ในการหลบหนีเริ่มต้นที่นาวาอากาศตรี โรเจอร์ บูเชล นายทหารจากกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักร ผู้ที่ถูกจับได้หลายครั้งแล้วจากการพยายามหลบหนีจากค่ายกักกันอื่นๆ ก่อนหน้า นี้ เขานำความคิดดังกล่าวไปหารือกับเพื่อนเชลยด้วยกัน ตอนแรกไม่มีใครเห็นด้วย แต่ต่อมาทุกคนก็ร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้แผนการนั้นเดินหน้าไปจนถึงที่สุด และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อการหลบหนีขึ้นมา

 

 

เกาะอัลคาทราซจากมุมมองต่างๆ.

เกาะอัลคาทราซจากมุมมองต่างๆ.


แผนการ ที่ว่านั้นประกอบไปด้วยการขุดอุโมงค์ 3 อุโมงค์ นอกจากนั้นก็แบ่งคณะทำงานอีกกลุ่มหนึ่ง มีหน้าที่ทำเอกสารปลอม กับตัดเสื้อผ้าแบบพลเรือนที่จะใส่เวลาหลบหนีออกจากค่ายไปได้

ในส่วน ของอุโมงค์นั้น เดิมตั้งเป้าไว้ว่าจะให้เชลยจำนวนสิบกว่าถึงยี่สิบคนเท่านั้นหลบหนีออกไปได้ แต่ตัวบูเชลเองต้องการมากถึง 200 อุโมงค์ ทั้ง 3 มีรหัสว่า ทอม, ดิ๊ก, แฮรี่ (Tom, Dick, Harry) แต่ทั้งหมดนั้น มีเพียงแฮรี่ที่ขุดไว้ใต้เตาไฟเท่านั้นที่ขุดสำเร็จ

ปัญหาใหญ่ที่ต้องจัดการมี 2 ข้อคือ จะเอาดินจากการขุดไปทิ้งที่ไหน อย่างไร กับจะป้องกันไม่ให้อุโมงค์ถล่มลงมาได้อย่างไร

 


อุโมงค์ นั้นลึกถึง 9 เมตร กว้างแค่ 60×60 ซม. เท่านั้น ดินและทรายที่เกิดจากการขุดจะถูกนำไปทิ้งโดยหลายวิธี เช่น การทิ้งแบบ เพนกวิน คือเอาดินใส่ในถุงเท้าเก่าแล้วผูกไว้ข้างขาที่สวมกางเกงขายาวทับอยู่บ้าง เอาซ่อนไว้ในเสื้อโดยห้อยไว้ที่คอบ้าง เมื่อคนนั้นเดินไปกลางลานในค่ายก็จะดึงเชือกที่ผูกปากถุงเท้านั้นให้ดินไหล ออกไปบนลานแล้วใช้เท้าเกลี่ยให้กลืนไปกับดินที่ลาน อีกวิธีเรียกว่า กาชาด คือการเอาดินใส่ในกระป๋องนมเปล่าที่มีเครื่องหมายกาชาด ผู้ที่ีถือกระป๋องนี้จะเดินเข้าไปในกลุ่มเชลยด้วยกันที่ทำหน้าที่บังสายตา พวกเยอรมัน เมื่อได้โอกาสก็จะเทดินทิ้ง อีกวิธีหนึ่งคือ ในเวลาทำสวนก็แอบเอาดินไปทิ้งตามแปลงดอกไม้ในค่าย ปริมาณดินที่พวกเขาขุดออกมานั้น มีน้ำหนักรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ตันเลยทีเดียว

อีกปัญหาหนึ่งที่ยากไม่แพ้กันคือ ทำอย่างไรไม่ให้อุโมงค์ถล่ม พวกเขาแก้ปัญหานี้โดยการหาแผ่นไม้มาค้ำ ซึ่งไม้ส่วนใหญ่ได้มาจากเตียงนอนของ พวกเขานั่นเอง  เตียงปกติจะมีแผ่นไม้จำนวน  20 แผ่นรองอยู่ แต่หลังจากอุโมงค์ขุดไปไกลขึ้นเรื่อยๆ แต่ละเตียงจะเหลือแผ่นไม้เพียงห้าหกแผ่นเท่านั้น  นอกจากนั้น เพื่อให้คนขุดมีอากาศหายใจ พวกเชลยก็สร้างปั๊มลมขึ้นมาจากกระป๋องนม ไม้จากเตียง ไม้ฮอกกี้ และกระสอบ เพื่อให้ การลำเลียงดินที่ขุดออกมานำไปทิ้งได้เร็ว พวกเชลยก็สร้างล้อเลื่อนเล็กๆ ไว้ในนั้นเพื่อขนถ่ายดินด้วย  ส่วนไฟฟ้านั้นแอบต่อเข้ากับสายเมนของค่ายที่พวกเยอรมันตรวจไม่พบ

 

ค่าย Stalag Luft III ในอดีต.

ค่าย Stalag Luft III ในอดีต.


อย่างไร ก็ตาม ใช่ว่าฝ่ายเยอรมันจะซื่อบื้อถึงขนาดไม่รู้อะไรเลย พวกเขาก็สงสัย แต่ตรวจไม่พบหลักฐานใดๆ เชลยซึ่งเป็นที่สงสัยจำนวน 19 คน ถูกย้าย ไปที่ค่ายอื่น ในจำนวนนั้นมี 6 คน ที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญ ของแผนการหลบหนี

ต่อ มาอุโมงค์ Dick ต้องถูกยกเลิกการขุด เพราะฝ่ายเยอรมัน ขยายพื้นที่ของค่ายออกไปถึงจุดที่กะไว้ว่าจะเป็นปลายอุโมงค์ อุโมงค์นี้จึงใช้เป็นที่ทิ้งดินจากหลุมอื่นกับใช้เป็นที่ซ่อนเครื่องมือและ ข้าวของเครื่องใช้ที่เตรียมไว้ยามหลบหนีออกไป

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 อุโมงค์ Tom ก็ถูกเยอรมันตรวจพบ เนื่องจากพวกเขาแอบมองจากในป่านอกค่าย เห็นพวกเพนกวินนำดินออกจากเรือนพักหลังหนึ่งออกไปทิ้ง การพบอุโมงค์ครั้งนั้น ทำให้การขุด Harry ต้องหยุดไปด้วยเพื่อความปลอดภัย จน กระทั่งเดือนมกราคมปีต่อมา การขุดจึงเริ่ม ขึ้นอีกครั้งและไปแล้วเสร็จเอาในอีก 2 เดือนต่อมา

 

 

ภายในอุโมงค์เฮนรี่.

ภายในอุโมงค์เฮนรี่.


ตาม แผนการหลบหนีที่วางกันไว้ พวกเชลยจะหนีออกจากค่ายเมื่อเข้าฤดูร้อน แต่กำหนดการก็เร่งขึ้นมา เมื่อเกสตาโปสั่งให้ผู้บัญชาการค่ายกักกันตรวจตราอย่างหนักเพื่อป้องกันการ หลบหนีของเชลย นาวาอากาศตรีบูเชลในฐานะหัวหน้าจึงตัดสินใจว่าจะหลบหนีทันทีเมื่อ Harry ขุดสำเร็จ ซึ่งในจำนวนเชลยที่ร่วมมือกันทั้งหมดราว 600 คนนั้น มีเพียง  200 คนที่จะได้หนีไปในครั้งนี้ พวกเขาแบ่งผู้จะหนีเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีโอกาสรอดสูง คือพูดภาษาเยอรมันได้ และมีที่ไปที่ชัดเจน กับอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการถูกจับสูง เพราะพูดเยอรมันได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย

การหลบหนีเลือกเอาคืนวัน ศุกร์ที่ 24 มีนาคม เป็นคืนเดือนมืด ผู้ที่เตรียมตัวจะหนีก็ทยอยไปที่เรือนนอนหมายเลข 104 ซึ่งทางเข้าอุโมงค์อยู่ในนั้น แต่โชคก็ไม่เข้าข้างนัก เมื่อพบว่าปลายอุโมงค์โผล่ขึ้นท่ามกลางต้นไม้ในป่าก็จริง แต่ป่าบริเวณนั้นมีต้นไม้ค่อนข้างห่าง แถมยังห่างจากหอคอยของค่ายไปแค่สิบกว่าเมตร จึงทำให้ ถูกตรวจพบได้ง่ายมาก และปากทางออกอุโมงค์ซึ่งทำบานปิดเปิดไว้นั้น ถูกน้ำแข็งจับตัวแน่นจนเปิดไม่ได้ ต้องเสียเวลาไปอีกกว่าชั่วโมงครึ่ง พื้นดินที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ทำให้เกิดร่องรอยชัดเจน ดังนั้น จากเดิมที่กะกันไว้ว่าเชลย 1 คน ใช้เวลา 1 นาที ในการออกจากอุโมงค์ กลายเป็นแค่สิบกว่าคนต่อชั่วโมง พวกเขาจึงบอกกันว่าคงไปกัน ได้ไม่เกิน 100 คน ก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น พวกที่รู้ตัวว่าหมดโอกาสในคืนนั้นแน่นอนก็เปลี่ยนชุดกลับไปเป็นชุดเดิมแล้วก ลับไปนอนตามที่ของตน เหตุการณ์แย่ลงไปอีกเมื่อสัญญาณเตือนภัยทางอากาศดังขึ้นเมื่อราวเที่ยงคืน ทำให้ค่ายต้องปิดไฟจนมืดสนิท ทหารยามก็ส่องไฟกันมากขึ้นในช่วงนั้น ทำให้ต้องหยุดการหลบหนีไว้ช่วงหนึ่ง แต่แล้วเมื่อเวลาตีหนึ่ง อุโมงค์เกิดถล่มลงมาจุดหนึ่ง ทำให้ต้องเสีย เวลาซ่อมแซมกันอีก

ท้าย สุดเมื่อเวลาก่อนตีห้าเล็กน้อย เชลยจำนวน 76 คน หลบหนีออกไปได้ แต่คนที่ 77 ซึ่งเป็นนาย ทหารอากาศของนิวซีแลนด์ ถูกยามคนหนึ่งมองเห็น เขาจึงยกมือขึ้นเพื่อยอมให้จับ และเปิดโอกาสให้คนอื่นๆหนีเข้าป่าไป พวกทหารเยอรมันยังไม่ทราบว่าพวกเชลยออกมาทางไหน จึงไม่ได้พยายามจะหาทางออก แต่ส่งทหารเข้าไปตรวจตามเรือนนอนต่างๆ เรือนนอนหมายเลข 104 เป็นหลังท้ายๆ ที่ทหารเข้าไปตรวจพร้อมกับสุนัข ซึ่งอุโมงค์ก็ถูกพบในเวลานั้น

การ หลบหนีของเชลย แม้ว่าจะหลุดออกมาจากค่ายกักกันแล้ว แต่ปัญหาใหม่ที่แทบทุกคนเจอคือ หาทางไปสถานีรถไฟไม่ถูก ต้องรอจนกระทั่งฟ้า สาง ประจวบกับขณะนั้นเป็นฤดูหนาวที่หิมะตกหนัก และหนามาก

ในจำนวนที่ หนีออกจากค่ายไปได้ 76 คน หนีรอดกลับไปอังกฤษได้เพียง 3 คน ถูกจับกลับไปถึง 73 คน แต่ในจำนวนนั้นมีเพียง 23 คนเท่านั้นที่มีชีวิตอยู่ อีก 50 คน (รวมทั้งนาวาอากาศตรีโรเจอร์ บูเชล) ถูกสั่งให้สังหารโดยฮิตเลอร์เอง ไม่เพียงแต่เชลยเท่านั้นที่ถูกฆ่า สถาปนิกผู้ออกแบบค่าย ทหารยามในคืนนั้น อีกทั้งคนงานเยอรมันที่ปล่อยให้เชลยแอบต่อไฟฟ้าใช้ ก็ถูกประหารชีวิตด้วย

ยังมีเรื่องราวการหลบหนีออกจากการคุมขังที่ไม่น่าเชื่ออีกหลายเรื่องครับ ถ้าสนใจก็ติดตามอ่านได้ในนิตยสารต่วย'ตูน พิเศษ ครับผม.

ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน

โดย: ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน

20 พฤศจิกายน 2554, 05:15 น.

http://m.thairath.co.th/content/life/217848

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น