วันที่: 25 พฤษภาคม 2555, 15:09
หัวเรื่อง: ประกาศกรุงเทพมหานคร: ขอเชิญตวรจดูผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3)
ถึง:
ด้านเครือข่ายแรงงานไทยได้มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อแรงงาน โดยเป็นตัวกลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยการขอระดมรับบริจาค สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ตามศูนย์แรงงานกลุ่มย่านสหพันธ์แรงงานและสมาพันธ์แรงงาน จำนวน 10 ศูนย์ หรีอบริจาคช่วยเหลือได้ทางบัญชีชื่อ มูลนิธิพิพิธพัณฑ์แรงงานไทย บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญ่สีลม โดยสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดจะนำไปมอบให้ผู้ใช้แรงงาน ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้
โครงการอนุรักษ์เต่าปูลู...ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านนาดอง ตำบลช่อแฮ จังหวัดแพร่ "หลายชีวิต" มีโอกาสไปเยี่ยมชม แล้วก็พบกับความแปลกของเจ้าเต่าตัวนี้ จึงนำภูมิประวัติชีวิตมานำเสนอ...
เต่าปูลู...เป็นเต่าน้ำจืดกินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum พบในลำธารน้ำตกบนภูเขาสูงหรือป่าดิบชื้นใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบนที่ติดกับตอนใต้ของประเทศจีน ตามชายแดนที่ติดกับ ไทย ลาว และ พม่า
...สาเหตุที่แปลกไปจากเต่าทั่วไป กล่าวคือ หัวที่โต ปากงุ้มแหลม เล็บที่ทั้ง 4 ข้างแหลมคมมาก มีหางที่ยาวมาก และ ไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ แต่มีคอยาวยื่นออกมาได้มาก...
ไชยรัตน์ ส้มฉุน
โดย: ไชยรัตน์ ส้มฉุน
15 พฤษภาคม 2555, 05:00 น.
ผ่าวงเสวนา "แท็บเล็ตในมือเด็ก เศษเหล็กหรือตำรา" รมว.ไอซีทีมั่นใจสเปกและราคาเหมาะสม ยกเป็นอุปกรณ์เสริมการเรียนรู้ ขณะที่พ่อแม่ยังกังวลเรื่องเนื้อหา เกรงลูกกลายเป็นคนก้าวร้าว ขณะที่แพทย์แนะตรวจสายตา หวั่น ป.1ใช้แท็บเล็ตผิดวิธี เกิดโทษมากกว่าคุณ...
เมื่อวันที่ 11 พ.ค.ชมรมนักข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนาจิบน้ำชาเรื่อง "Tablet ในมือเด็ก เศษเหล็กหรือตำรา" โดย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี ในฐานะพ่อของลูก 5 คน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในโครงการ ซึ่งหลายคนอยู่ในฐานะพ่อแม่ ต่างก็มีความห่วงใยและกังวล ตั้งแต่สเปกหรือราคาและการใช้งาน สำหรับการกระจายแท็บเล็ตในโครงการคอมพิวเตอร์มือถือสำหรับนักเรียนทุกคน (One Tablet PC Per Child) จากนี้จะเป็นขั้นตอนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะทยอยส่งมอบอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนชั้น ป.1 ทุกคนในโรงเรียนทั่วประเทศ
รมว.ไอซีที กล่าวอีกว่า เบื้องต้นการใช้แท็บเล็ตประกอบการเรียนการสอนนี้มีรูปแบบเป็นออฟไลน์ ทำให้สามารถควบคุมการเข้าถึงเนื้อหาของเด็กได้ในระดับหนึ่ง สำหรับนักเรียนในระดับชั้นอื่นๆ รัฐบาลก็มีการจัดสรรงบเพื่อใช้ในโครงการประเภทเดียวกันนี้ แต่จะอยู่ในส่วนของงบประมาณปี 2556 ซึ่งต้องรอการพิจารณาอนุมัติในอนาคต ส่วนเนื้อหาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ใช้สำหรับแท็บเล็ตนักเรียนป.1 นี้ สามารถเข้าชมได้จากเว็บไซต์เด็กไทยดอทเน็ต (www.dekthai.net)
ด้าน นางนันท์นภัส ตันทะอธิพานิช ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนราชวินิต กรุงเทพฯ กล่าวว่า ได้เริ่มใช้แท็บเล็ตในโครงการดังกล่าวในฐานะโรงเรียนนำร่อง ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ม.ค.-มี.ค.ที่ผ่านมา โดยจากการใช้งานรู้สึกว่าแท็บเล็ตมีประโยชน์ ทั้งยังช่วยให้การเรียนการสอนง่ายขึ้น ทำให้เด็กตื่นตัวในการเรียนและรู้สึกสนุกสนานขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นครูประจำชั้น ป.1 จึงมีโอกาสสอนเด็กในทั้ง 5 กลุ่มวิชาหลัก ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศาสตร์ ซึ่งจะเลือกจากเนื้อหากว่า 300 หัวข้อ ของสพฐ.
นางนันท์นภัส กล่าวต่อว่า ก่อนเข้ารับการอบรมการใช้งานก็มีความกังวล โดยเฉพาะด้านการดูแลรักษาเครื่อง เนื่องจากค่อนข้างเป็นเด็กเล็ก ในชั้นเรียนก็จะมีการสร้างข้อตกลงร่วมกันว่าห้ามเปิดไปที่ส่วนอื่นนอกเหนือจากที่เรียนอยู่ ซึ่งเด็กๆ ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลในการใช้งานแท็บเล็ตเกี่ยวกับการพัฒนาและการยอมรับเทคโนโลยีที่ครูต้องปรับตัว การปลูกจริยธรรมให้เด็กมีความพร้อมในการใช้งาน ผู้ปกครองควรให้เวลาและดูแลการใช้งานของเด็กอย่างใกล้ชิด ขณะที่แอพพลิเคชั่นและเนื้อหาควรใช้งาน เข้าใจได้ง่าย
นายวสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้งบล็อกนัน (http://blognone.com) กล่าวว่า หากมองในมุมฮาร์ดแวร์เชื่อว่าสเปกของเครื่องหน้าจอ 7 นิ้ว แรม 1GB เมมโมรี่ 8GB ดูอัลคอร์ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชั่น 4 ถือว่าเพียงพอและสามารถใช้เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมในการศึกษาได้ ความกังวลเกี่ยวกับการใช้งานที่อาจส่งผลให้เครื่องได้รับความเสียหาย ได้แก่ การตกหล่น และการตั้งค่าใช้งานไม่ถูกต้อง
นางศรีดา ตันทะอธิพานิช ประธานเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ กล่าวว่า ผู้ปกครองจำนวนมากได้แต่ติดตามรายละเอียดผ่านข่าวซึ่งทำให้ไม่เข้าใจกระบวนการทั้งหมดอย่างถูกต้อง ยอมรับว่าค่อนข้างมีความกังวลทั้งด้านนโยบายและการใช้งานอื่นๆ ทั้งการบำรุงรักษาและคอนเทนต์
"ไม่รู้ว่าอะไรจะเข้ามาอยู่ในมือของลูกเรา ไม่รู้ว่าต้องปรับและเตรียมตัวอย่างไร อยากให้มีความชัดเจนเพื่อจะได้ติดตามและเตรียมตัวได้ถูก เชื่อว่าทุกคนก็อยากให้ลูกได้มีโอกาสใช้งานแท็บเล็ต แต่ต้องยอมรับว่าบางรายอยากได้เพราะเป็นของแจก ของฟรีหรือเปล่า เมื่อได้ไปใช้งานแล้วก็ควรแนะนำให้ความรู้ลูกหลานได้ นอกจากนี้ก็เป็นห่วงว่าเด็กจะเบื่อเร็วหรือเกิดปัญหาความก้าวร้าว เพราะสามารถเล่นอยู่กับแท็บเล็ตได้ทั้งวันโดยที่ไม่ต้องทำกิจกรรมอื่น"
ขณะที่ พ.ท.นพ.ยุทธพงษ์ อิ่มสุวรรณ เลขาธิการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานแท็บเล็ตนั้น อาจมีผลกระทบต่อสายตาได้มากที่สุด แต่อยากแนะนำให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานไปตรวจสุขภาพตา เพื่อตรวจเช็กก่อนการใช้งาน เพราะเด็กบางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาอยู่แล้ว การใช้งานแท็บเล็ตในสภาพแวดล้อมและระยะเวลาที่เหมาะสมก็อาจไม่ได้เป็นปัจจัยให้เกิดปัญหาด้านสายตา
"คำแนะนำคือไม่ควรจ้องมองหน้าจอเป็นเวลานานเกินไป ควรพักสายตาทุก 1 ชั่วโมง ควรกะพริบตาหรือปรับไปมองระยะไกลบ้าง เพื่อให้มีการกะพริบตา ลดอาการแสบตา ตาแห้ง หรือน้ำตาไหลได้"
โดย: ทีมข่าวไอทีออนไลน์
11 พฤษภาคม 2555, 19:30 น.
วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:05:32 น. |
พาเที่ยวอังกฤษ ดูภูมิประเทศมุมสูง ความสวยงามที่ไม่ได้เห็นได้ง่ายๆ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1336370817&grpid=09&catid=no
|
เวลาไปเที่ยวตามรีสอร์ทหรือโรงแรมต่างๆ คุณเคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าอาหารที่รับประทานกันไม่หมด ทางที่พักเขามีวิธีการจัดการอย่างไร? "มติชนทีวี" พาบุกหลังบ้านรีสอร์ท "แบนส์ ไดฟ์วิ่ง" บน "เกาะเต่า" ซึ่งมีวิธีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถลดต้นทุนผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ ด้วย "เศษผักผลไม้" เหลือทิ้งจากนักท่องเที่ยว วิธีการจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในคลิป ชมคลิป อื่นๆ ทราบหรือไม่ว่าสวรรค์ของนักดำน้ำอย่าง "เกาะเต่า" แต่ละวันมีขยะจำนวนมากถึง 6-7 ตัน ที่รอการกำจัด ผู้ประกอบการรีสอร์ทบนเกาะเต่าบางส่วนได้พยายามหาวิธีใช้ประโยชน์จากขยะเหลือทิ้ง โดยเฉพาะเศษผักผลไม้ที่มีมากกว่า 50% ด้วยการนำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆ ในที่พัก | |
© 2012 YouTube, LLC 901 Cherry Ave, San Bruno, CA 94066 |
จุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก แผนที่เกาะเมือง |
เรื่อง/ภาพ ปรีชยา ซิงห์
"ป้อมเพชร" ประตูสู่กรุงศรีอยุธยา
นับจากเมื่อคราว สถาปนาอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ ปี พ.ศ. 1893 กำแพงเมืองและป้อมต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาเป็นปราการป้องกันข้าศึกจำนวนมากรอบเกาะกรุงศรีอยุธยา ในคราวแรกเริ่มสร้างป้อม ล้วนใช้ไม้เป็นสิ่งก่อสร้าง ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้มีการขยายขอบเขตราชสีมาไปถึงตลิ่งแม่น้ำ จึงได้มีการสร้างกำแพงด้วยอิฐและศิลาแลงขึ้น
ป้อมเพชร เป็นป้อมใหญ่ก่อด้วยอิฐสลับกับศิลาแลง หนา 14 เมตร ลักษณะรูปทรงป้อมแบบหกเหลี่ยมยื่นออกไปจากแนวกำแพงเมือง มีช่องคูหา(เชิงเทิน) ก่อเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซึ่งเป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ประจำป้อม จากบันทึกประวัติของชาวต่างชาติที่ไปเยือนกรุงศรีอยุธยา ณ เวลานั้น กล่าวไว้ว่ามีปืนใหญ่กว่า 800 กระบอกตั้งเรียงรายอยู่บนกำแพงเมือง เพื่อป้องกันข้าศึกที่จะมาทางน้ำ และเป็นท่าเรือสินค้าที่สำคัญในอดีต รวมทั้งเป็นย่านที่พักอาศัยของพ่อค้าชาวจีน ฮอลันดาและฝรั่งเศส นอกจากนี้ ยังแฝงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากพบร่องรอยการอยู่อาศัยมาตั้งแต่อยุธยาตอนต้น
เตรียมพร้อมร่วมเดินทางสู่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชาติสยามด้วยกันได้ ในวันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2555 นี้ สนนราคาเพียง 2,899 บาท พิเศษแจกฟรี! หนังสือ พม่ารบไทย ทุกที่นั่ง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ "มติชนอคาเดมี" โทร 08-2993-9097 และ 08-2993-9105
++++++++++++++++++++++++++++++++
ถัดจากป้อมเพชร เตรียมพร้อมกันให้ดี ในการศึกษาเรื่องราวข้อมูลทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผ่านจิตรกรรมฝาผนัง ต้นฉบับที่เคยเห็นกันในหนังสือเรียน วาดโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร จิตรกรเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร หนึ่งในสถานที่ของโปรแกรมทัวร์ "บุกอยุธยา ค้นหาพระนเรศวร" พร้อมอ่านข้อมูลเบื้องต้นการสร้าง "วัดทอง" ภายหลังจากที่พระชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงยกที่ดินบริเวณหลัง ป้อมเพชร มาสร้างไว้ ก่อนที่ รัชกาลที่ 1 จะทรงบูรณะใหม่ทั้งหมด และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุวรรณาดารามฯ" ซึ่งเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมเปรียบพระพุทธศาสนาดั่งนาวาธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์สมัยอยุธยา ที่ตัวโบสถ์จะตกท้องช้าง ทำให้คล้ายท้องเรือสำเภา นอกจากนี้ พระประธานในพระอุโบสถ ยังเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีลักษณะงดงาม ซึ่งรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขยายส่วนจากพระแก้วมรกตอีกด้วย http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336200627&grpid=01&catid=08&subcatid=0804 |
สุรพงษ์ เลาหะอัญญา |
"มติชนทีวี" เจาะประเด็นปัญหารถติดบริเวณสี่แยกพญาไท ซึ่งเป็นปัญหาสะสมนาน 4 ปี ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กนักเรียนที่ต้องข้ามถนนหน้าตึก "วรรณสรณ์" ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันกวดวิชาชื่อดังหลายแห่ง จนทางผู้บริหารตึกวรรณสรณ์ ต้องใช้วิธีกั้นเชือกเพื่อให้คนที่จะข้ามถนนรอสัญญาณไฟก่อน เพื่อความปลอดภัยและลดปัญหาการจราจรแออัด
ก่อนหน้านี้ ผู้บริหารตึกฯ ได้เสนอโครงการสร้างสะพานลอยเชื่อมจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีพญาไท แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้น
หลังจากได้ฟังบทสัมภาษณ์ "อนุสรณ์ ศิวะกุล" ประธานกรรมการบริหาร ตึก"วรรณสรณ์" และ "โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ เคมี อ.อุ๊" ถึงเบื้องหลังการระงับโครงการทางเชื่อมจากบีทีเอสพญาไทถึงตึกวรรณสรณ์ ไปแล้วในตอนที่ 2(คลิกที่นี่)
ตอนที่ 3 จะเป็นบทสัมภาษณ์ในมุมของ "บีทีเอส" โดย "สุรพงษ์ เลาหะอัญญา"กรรมการ/ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในคลิป
ชมคลิป
|